วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเทศไทยจำเป็นต้องไหลไปตามกระแส

เมื่อไทยต้องไหลตามกระแสอาเซี่ยน

จากการตกลงกันในกลุ่มประชาคมอาเซี่ยน ASEAN Community การจัดตั้งประชาคมอาเซี่ยนต้องแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยความร่วมมือของ 3 เสาหลัก คือ

1.เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC)

2.เสาหลักประชาคมเศรษฐกิจ (AEC)

3.เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC)

ในอนาคตประชาคมอาเซี่ยนจะเหมือน EU หรือ European Union จะมีตลาดขนาดใหญ่ มีอำนาจในการต่อรอง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซี่ยนได้กล่าวสุนทรพจน์ เปรียบเทียบประชาคมอาเซี่ยนเหมือนประตูน้ำของภูมิภาค"เพื่อประคองกระแสจากภายนอก หากเห็นว่าภายนอกมีโอกาสดีเราก็เปิดประตูน้ำ หากเห็นท่าไม่ดีก็ปิดเสีย

ประชาคมเศรษฐกิจ (AEC)ต้องการให้อาเซี่ยนมีฐานการผลิตเดียวกันและพยายามให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี  ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ภูมิภาคนี้เป็นอย่างไร? ประชากรในอาเซี่ยนรวมกันแล้วเกือบ 600 ล้านคน ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และยังเป็ยภูมิภาคที่มีทรัพยากรสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกด้วย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ วัตถุดิบมีมากหลากหลายขึ้น สินค้าและบริการจะมีมากขึ้น ลูกค้ามากขึ้น ราคาสินค้าจะถูกลง ขายสินค้าง่ายขึ้น การทำธุรกิจในภูมิภาคจะคล่องตัวมาก ผู้คนจะไปมาหากันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้น และอาจทำให้เกิดลูกครึ่งในคนรุ่นใหม่มากขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีอะไรบ้างในด้านธุรกิจเราอาจขยายความเป็นไทยในภูมิภาคได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังติดปัญหาค่อนข้างมากในเรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะการศึกษาไทยเรื่องภาษาอังกฤษยังอ่อนมากๆ เพราะต่อไปเราต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอาเซี่ยน ซึ่งคนไทยควรจะตื่นตัวเรื่องนี้อย่างมากๆ ถึงแม้ว่าเราจะเก่งสักแค่ไหน การติดต่อสือสาร การต่อรองในธุรกิจต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก น่าเป็นห่วงมาก ลองหาวิธีแก้ไขกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น: